| | ชื่อหลักสูตร : | EDTC736:e-Learning การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ดร.บัญชา) | ผู้สร้างหลักสูตร : | Lekpijit99 | ระยะเวลา : | 2 วัน | เนื้อหา : 1. คำอธิบายรายวิชา
แนวคิด หลักการ และลักษณะของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทบทวนภาพรวมของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บทบาทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ระบบอินเทอร์เน็ตและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน การออกแบบและพัฒนาการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
| วัตถุประสงค์ : 1. อธิบายความหมาย ขอบข่าย หลักการ แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
2. วิเคราะห์องค์ประกอบของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
3. อธิบายหลักการบริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
4. ออกแบบและจำลองระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลได้
| คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | เอกสารอ้างอิง : กิดานันท์มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
ชลิยา ลิมปิยากร. (2536). เทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารตำรา สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยี
และสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 (หน้า 1-70). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนสาร เพ็งพุ่ม.(2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา EDU231 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศการศึกษา. พิษณุโลก : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2528).โสตทัศนศึกษา.กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 4).นนทบุรี: SR Printing.
ยืน ภู่วรรณ, และสมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย.กรุงเทพฯ:
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมจิต จันทร์ฉาย (2557) การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สมหมาย กาญจนโชติ. (2549). เทคโนโลยีการศึกษา. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ.สงขลา:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
| รายละเอียดผู้สร้างหลักสูตร:
Lekpijit99 อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
|